กิจกรรมวันที่ 24-28 มกราคม 2554








ตอบ 3 ค และ ง


การกำจัดขยะพลาสติกสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนำไปฝัง (Burial) หรือนำไปถมดิน (Landfill) การนำไปเผาเป็นเชื้อเพลิง (Incineration) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) อย่างไรก็ตาม การนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่โดยทั่วไปแล้วถูกพิจารณาว่า เป็นทางเลือกที่ให้ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดทางหนึ่ง ในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ซึ่งทาง บริษัท พลาสท์โปร จำกัด ขอเป็นส่วนร่วมอีกทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก เพื่อช่วยให้ประเทศไทยน่าอยู่ มีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี และเก็บไว้ให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานสืบต่อไป



ที่มาของข้อมูล : http://www.lg-plus.com/plastpro/index_plastpro.html



ตอบ 1 ก ค และ ฉ


น้ำค้างเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำบนพื้นผิวของวัตถุ ซึ่งมีการแผ่รังสีออกจนกระทั่งอุณหภูมิลดต่ำลงกว่าจุดน้ำค้างของอากาศซึ่งอยู่รอบๆ เนื่องจากพื้นผิวแต่ละชนิดมีการแผ่รังสีที่แตกต่างกัน ดังนั้นในบริเวณเดียวกัน ปริมาณของน้ำค้างที่ปกคลุมพื้นผิวแต่ละชนิดจึงไม่เท่ากัน


ที่มาของข้อมูล : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2f917348623faa72&pli=1






ตอบ 4 การเปลี่ยขนาดภาชนะที่บรรจุสารละลายที่ทำปฏิกิริยา


การเกิดปฏิกิริยาเคมี
    
ถ้านักเรียนสังเกตรอบๆตัวเรา จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงใด เป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี ... มีข้อสังเกตในการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือจะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ สารใหม่ที่เกิดขึ้นจะต้องมีสมบัติเปลี่ยนไปจากสารเดิม... เช่น การเผาไหม้ของวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร การสึกกร่อนของอาคารบ้านเรือน การบูดเน่าของอาหาร เป็นต้น

  ปฏิริยาเคมีคืออะไร
   
ปฏิกิริยาเคมี  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสารแล้วส่งผลให้ได้สารใหม่ที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยในการเกิดปฏิกิริยาเคมี จะต้องเกิดจากสารตั้งต้น (reactant) ทำปฏิกิริยากัน แล้วเกิดเป็นสารใหม่ เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)

  ปฏิกิริยาเคมีแบ่งออกได้  5  ชนิด ได้แก่     1. ปฏิกิริยาการรวมตัว                         A +Z         ------->           AZ

     2.
ปฏิกิริยาการสลายตัว                      
AZ            ------->           A +Z

     3.
ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงเดี่ยว            
A + BZ       ------->           AZ + B

     4.
ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงคู่                 
AX+BZ       ------->           AZ + BX

      5.
ปฏิกิริยาสะเทิน                            HX+BOH     ------->          BX + HOH

 
  สังเกตได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นเราสามารสังเกตได้ว่ามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นโดยสังเกตสิ่งต่อไปนี้
   
มีฟองแก๊ส
    มีตะกอน
    สีของสารเปลี่ยนไป  
    อุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ที่มาของข้อมูล : http://www.tps.ac.th/~narin/basicchem/index_files/page0013.htm






ตอบ 2  0.25 / 0.18
พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี      ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากจะมีผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารใหม่เกิดขึ้นแล้ว จะต้องมีพลังงานเกี่ยวข้องด้วยเสมอ เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง มักจะให้พลังงานความร้อน พลังงานแสง หรือพลังงานชนิดอื่นเป็นผลพลอยได้ การเผาผลาญอาหารในร่างกายของเรา ก็มีพลังงานเกิดขึ้น เราจึงสามารถนำพลังงานจากการเผาผลาญอาหารมาใช้ในการดำรงชีวิต เป็นต้น
     การเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดปฏิกิริยาเคมี มี 2 ประเภท คือ
    1. ปฏิกิริยาคายความร้อน (
exothermic  reaction) คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วให้พลังงานความร้อนออกมา แก่สิ่งแวดล้อม เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาผลาญอาหารในร่างกาย เป็นต้น
    2. ปฏิกิริยาดูดความร้อน (
endothermic  reaction) คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้ว ดูดความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าไป ทำให้สิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิลดลง   ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน

 ปฏิกิริยาการเผาไหม้                          
C  +  O2     ------>   CO2
                                           
ปฏิกิริยาการสันดาปในแก๊สหุงต้ม      2C4H10     +    13O2       ------>        8CO2    +      10H2Oปฏิกิริยาการเกิดฝนกรด                          SO3  +  H2 O    ------>   H2SO4 ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก                   4Fe   +   3O2      ------>   2Fe2O3 . H2O
ที่มาของข้อมูล : http://www.tps.ac.th/~narin/basicchem/index_files/page0013.htm






ตอบ 4 ก และ ง


  • หมู่ที่1A ลิเทียม โซเดียม โพแทสเซียม รูบิเดียม ซีเซียม แฟรนเซียม
  • หมู่ที่2A เบริลเลียม แมกนีเซียม แคลเซียม สตรอนเทียม แบเรียม เรเดียม
  • หมู่ที่3A โบรอน อะลูมิเนียม
  • หมู่ที่4A คาร์บอน ซิลิกอน เจอร์เมเนียม
  • หมู่ที่5A ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส อะซินิค(สารหนู)
  • หมู่ที่6A ออกซิเจน ซัลเฟอร์(กำมะถัน) ซีลีเนียม เทลลูเรียม
  • หมู่ที่7A ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน แอสทาทีน
  • หมู่ที่8A ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปตอน ซีนอน เรดอน
ยกเว้น ไฮโดรเจน เพราะยังถกเถียงกันอยู่ว่าจะจัดลงไปที่หมู่ 1 หรือ 7 ดี เพราะคุณสมบัติเป็นกึ่งๆ กัน ระหว่าง 1A กับ 7A และธาตุประเภททรานซิชัน โดยทั่วไป ไม่แนะนำให้จำ แต่อาศัยดูตารางเอา แต่ควรจำคุณสมบัติของธาตุที่ออกสอบบ่อยๆ ให้ได้ ควรจะใช้หลักการในการท่องให้ง่ายขึ้น เช่นการใช้ตัวย่อของแต่ละคำมารวมกันเป็นประโยคที่จำง่ายๆ ซึ่งจะทำให้เราจำได้ไวขึ้น


ที่มาของข้อมูล : http://itshee.com/pages/periodictable.html









ตอบ 1 Na+




อิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสนั้น จะอยู่กันเป็นชั้นๆตามระดับพลังงาน ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด (ชั้น K)จะมีพลังงานต่ำที่สุด และอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นถัดออกมาจะมีพลังงานสูงขี้นๆตามลำดับพลังงานของอิเล็กตรอนของระดับชั้นพลังงาน K < L < M < N < O < P < Q
หรือชั้นที่ 1< 2 < 3 <4 < 5 < 6 < 7


ที่มาของข้อมูล : http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/atommodel100.html






ตอบ 3 A กับ Y


ธาตุเคมี คือ อนุภาคมูลฐานของสสารหรือสารต่างๆที่ไม่อาจแบ่งแยกหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นสสารอื่นได้อนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุเรียกว่า อะตอม ซึ่งประกอบด้วยอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสที่ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน
เลขอะตอมของธาตุ (ใช้สัญลักษณ์ Z) คือ จำนวนของโปรตอนในอะตอมของธาตุ ตัวอย่างเช่น เลขอะตอมของธาตุคาร์บอน นั้นคือ 6 ซึ่งหมายความว่า อะตอมของคาร์บอนนั้นมีโปรตอนอยู่ 6 ตัว ทุกๆอะตอมของธาตุเดียวกันจะมีเลขอะตอมเท่ากันเสมอ ซึ่งก็คือมีจำนวนโปรตอนเท่าๆกัน แต่อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน ซึ่งเรียกว่า ไอโซโทปของธาตุ มวลของอะตอม (ใช้สัญลักษณ์ A) นั้นวัดเป็นหน่วยมวลอะตอม (unified atomic mass units; ใช้สัญลักษณ์ u) ซึ่งเท่ากับผลรวมของจำนวนโปรตอน และ นิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอม ธาตุบางประเภทนั้นจะเป็นสารกัมมันตรังสี และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธาตุชนิดอื่น เนื่องจากการสลายตัวทางกัมมันตภาพรังสี




ตอบ 2    2 8 8 / 2 8




ระดับพลังงานชั้นย่อย s มี e- ได้ ไม่เกิน 2 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย p มี e- ได้ ไม่เกิน 6 ตัวระดับพลังงานชั้นย่อย d มี e-ได้ ไม่เกิน 10 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย f มี e-ได้ ไม่เกิน 14 ตัว
เขียนเป็น s2 p6 d10 f14


ที่มาของข้อมูล : http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/atommodel100.html






ตอบ 1     AB  AC   BC
                           2                2        
  • คาบที่ 1 มี 2 ธาตุ คือ H , He
  • คาบที่ 2 มี 8 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Li ถึง Ne
  • คาบที่ 3 มี 8 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Na ถึง Ar
  • คาบที่ 4 มี 18 ธาตุ คือ ตั้งแต่ K ถึง Kr
  • คาบที่ 5 มี 18 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Rb ถึง Xe
  • คาบที่ 6 มี 32 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Cs ถึง Rn
  • คาบที่ 7 มี 19 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Fr ถึง Ha
รวมทั้งหมด 105 ธาตุ เป็นก๊าซ 11 ธาตุ คือ H , N , O , F , Cl , He , Ne , Ar , Kr , Xe และ Rn เป็นของเหลว 5 ธาตุ คือ Cs , Fr , Hg , Ga และ Br ที่เหลือเป็นของแข็ง







ตอบ 3  รังสีแกมมาจากโคบอลต์-60 สามารถทำลายแบกทีเรีย จึงใช้ในการถนอมอาหาร


ประโยชน์จากการใช้ธาตุกัมมันตรังสี          1. ด้านธรณีวิทยา การใช้คาร์บอน-14  (C-14) คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ
          2. ด้านการแพทย์ ใช้ไอโอดีน-131 (I-131) ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไธรอยด์ โคบอลต์-60 (Co-60) และเรเดียม-226 (Ra-226) ใช้รักษาโรคมะเร็ง
          3. ด้านเกษตรกรรม ใช้ฟอสฟอรัส 32 (P-32) ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ  และใช้โพแทสเซียม-32 (K–32) ในการหาอัตราการดูดซึมของต้นไม้
          4. ด้านอุตสาหกรรม ใช้ธาตุกัมมันตรังสีตรวจหารอยตำหนิ เช่น รอยร้าวของโลหะหรือท่อขนส่งของเหลว ใช้ธาตุกัมมันตรังสีในการ ตรวจสอบและควบคุมความหนาของวัตถุ ใช้รังสีฉายบนอัญมณีเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
          5. ด้านการถนอมอาหาร ใช้รังสีแกมมาของธาตุโคบอลต์-60 (Co–60) ปริมาณที่พอเหมาะใช้ทำลายแบคทีเรียในอาหาร  จึงช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานขึ้น
          6. ด้านพลังงาน มีการใช้พลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของยูเรีเนียม-238 (U-238) ต้มน้ำให้กลายเป็นไอ แล้วผ่านไอน้ำไปหมุนกังหัน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า


ที่มาของข้อมูล : http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_10.html

3 ความคิดเห็น: